ReadyPlanet.com
dot dot
วิชาชีวิต article

วิชา : ชีวิต

ผู้สอนและผู้จัดทำหลักสูตร : ครูเชฐ

            เป้าหมายของวิชาชีวิตคือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนระดับชั้นประถม 6 ในการเป็นผู้กำหนดและวางแผนชีวิตของตนเอง  โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือความต้องการจะให้เด็กได้เรียนรู้ว่านี่คือชีวิตของฉัน, ฉันเป็นผู้ค้นหาความฝันและศักยภาพของตัวฉันเอง, ฉันเป็นผู้วางแผนและกำหนดเป้าหมายในชีวิต, และฉันเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของตนเอง

วิชาชีวิตยังกระตุ้นให้เด็กรู้จักการคิดวิเคราะห์รวมถึงพิจารณาความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตน พิจารณาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว รวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น  วิชาชีวิตจะผลักภาระความรับผิดชอบในชีวิตกลับไปที่ตัวเด็ก โดยต้องการให้เด็กได้ตระหนักว่าต้องเริ่มทำอะไรกับชีวิตของตนแล้ว  ซึ่งในระยะอันใกล้คือการรับผิดชอบตนเองในการเตรียมตัวสอบเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมต่อไป

            ตัวอย่างเนื้อหาของวิชาชีวิตด้านล่างกระทำผ่านการอภิปรายและกิจกรรมในชั้นเรียน การเขียนเรียงความ และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

·       ความฝันของฉัน (อาชีพ) / การกำหนดเป้าหมายในชีวิต – กระตุ้นให้เด็กได้คิดถึงชีวิตของตนเองรวมถึงการกระตุ้นให้กำหนดเป้าหมายในชีวิต

การอภิปรายในชั้นเรียนและเขียนเรียงความ 2 เรื่อง

o   ความฝันของฉัน

o   การออกแบบชีวิตของตนเอง

·       Stereotype (การยึดติดในภาพลักษณ์หรือทัศนคติของคนหมู่มาก) – โดยปกติคนทั่วไปจะมีนิสัย Stereotype อยู่มาก และส่วนใหญ่มักจะตัดสินคนจากภาพลักษณ์ภายนอกโดยยึดติดจากทัศนคติของคนหมู่มาก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรานึกถึงคนดำหรือคนนิโกร เรามักจะตัดสินไปทันทีว่าเป็นคนอันธพาล ใจร้าย นิสัยไม่ดี  หรือเมื่อเราพบปะผู้คนในสาขาอาชีพต่างๆ เรามักจะคิดไปก่อนว่าเขาน่าจะเป็นอย่างนี้หรือมีนิสัยอย่างนั้น ก่อนที่เราจะรู้จักในตัวตนเขาที่แท้จริง  เป้าหมายของกิจกรรมนี้คือการสอนให้เด็กลดนิสัย Stereotype ของตนเองลง

การอภิปรายในชั้นเรียนและเขียนเรียงความเรื่องความรู้สึก/ความคิดเห็นของเด็กที่มีต่อคำต่างๆ ดังต่อไปนี้

o   ตำรวจ

o   น้อง "อ" (เพื่อนเรียนที่มีปัญหาเรื่องความก้าวร้าว)

o   ครูเชฐ

o   คนอีสาน

o   ประเทศลาว

o   โรงเรียนทอรัก

o   แม่อร (ครูประจำชั้น)

o   คนเก็บขยะ

o   ปลาร้า

·       Bucket List - จากหนังสือเรื่อง Chicken Soup for the Soul - “Another Check Mark on The List.”  เป็นบทความเกี่ยวกับเด็กอายุ 15 ปีที่ได้เขียนสิ่งที่อยากทำในชีวิตจำนวน 127 ข้อ  เมื่อเวลาผ่านไปเขาสามารถกลับมาขีดเครื่องหมายถูกที่แสดงว่าเขาทำได้แล้วเกือบทุกข้อ  แต่ละหัวข้อมีความตื่นเต้นและมีความท้าทายสูงเช่นการได้ปีนเทือกเขา Everest และเทือกเขาอื่นๆ ทั่วโลก, การได้ดำน้ำลึกในทวีปต่างๆ, การขับเครื่องบิน, การเล่นไวโอลิน, การเป็นหมออาสาสมัครที่ได้ช่วยเหลือคน, หรือการได้เขียนบทความลงในนิตยสาร National Geographic, เป็นต้น

นำเสนอบทความในชั้นเรียน อภิปราย และให้เด็กเขียนเรียงความเกี่ยวกับ
Bucket List
ของตนเอง

·       การจินตนาการเป้าหมายหรือความสำเร็จ – กิจกรรมที่มอบหมายให้เด็กทำทุกวันก่อนเข้านอนคือการจินตนาการภาพวันประกาศผลสอบเข้าชั้น ม.1  ว่าตนสามารถสอบเข้าได้  เพื่อเป็นการสร้างจิตใต้สำนึกให้เป็นแรงผลักดันให้เด็กเตรียมตนเองเข้าสู่การสอบเข้า ม.1  โดยที่เราไม่ต้องบังคับเด็ก

กิจกรรมระดมสมองเรื่องวิธีเตรียมตนเองเพื่อสอบเข้า ม.1  ก่อนสอดแทรกวิธีการจินตนาการเป้าหมาย รวมถึงมอบหมายให้นำวิธีการนี้กลับไปปฏิบัติที่บ้านทุกวัน

·       “ถ้าฉันมีลูก.. ฉันจะเลี้ยงลูกอย่างไร?”  - เป้าหมายคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของตัวเด็กเอง โดยให้เด็กได้มองภาพของพ่อแม่ผ่านสายต่อของตนเอง  รวมถึงการศึกษาข้อมูลเชิงลึกคือความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผู้ปกครอง (พบว่าปัญหาพฤติกรรมที่พบเจอในโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ข้อมูลนี้จะช่วยครูผู้สอนเข้าใจสภาพแวดล้อมที่บ้านของเด็กมากยิ่งขึ้น)

อภิปรายในชั้นเรียนและให้เขียนเรียงความ

·       การฝึกทักษะการตัดสินใจ (Dilemma) – เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ว่าการตัดสินใจของตนนั้นมีผลต่อชีวิตของตัวเอง  การตัดสินใจทุกครั้งจะเกิดเหตุการณ์ Dilemma ขึ้นเพราะไม่มีการตัดสินใจไหนที่สมบูรณ์แบบ 100%

อภิปรายในชั้นเรียนและเขียนเรียงความเรื่อง “ถ้ามีคน 2 คนที่ฉันรักจมน้ำ และฉันสามารถช่วยได้เพียง 1 คน  ฉันจะช่วยใคร? ทำไม? และฉันจะรู้สึกอย่างไร?

·       “อะไรที่มีเยอะไปไม่มีค่า” – เปรียบเทียบให้เห็น Water Vs. Diamond Dilemma Concept
เป้าหมายคือการให้เด็กมองเห็นความรักของพ่อแม่ที่มีต่อตนเอง ซึ่งเด็กมักจะมองข้ามและไม่เห็นความสำคัญของความรักของพ่อแม่ที่มีอยู่มาก (Don’t take it for granted – การขอบคุณ (Appreciation
) สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว)

อภิปรายในชั้นเรียน และทำกิจกรรม “ขวดน้ำดื่มกับเงิน 100 บาท”

·       ถ้าฉันกลับไปที่บ้านวันนี้แล้วพบว่าคนในครอบครัวหายไปหมด ฉันจะทำอย่างไร? – กระตุ้นให้เด็กคิดถึงความสามารถในการดำรงชีวิตของตนเองและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน  รวมถึงตะหนักถึงความสำคัญของสมาชิกในครอบครัว

อภิปรายในชั้นเรียนและเขียนเรียงความ

·       “มีหนูกี่ตัวในโรงเรียนทอรัก?” – การกระตุ้นให้เด็กได้คิดหาวิธีการคำนวณจำนวนหนูที่มีอยู่ในโรงเรียนทอรัก กระตุ้นให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหาทีละขั้นตอนของวิธีการให้ได้มาซึ่งคำตอบ โดยไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง (คำถามปลายเปิด)

อภิปรายในชั้นเรียนและเขียนเรียงความ

·       ทรัพย์สิน.. สุขหรือทุกข์? – ให้เด็กเรียนรู้ความต้องการของตนเองเมื่อเวลาอยากได้สิ่งของต่างๆ และให้เปรียบเทียบความรู้สึกก่อนและหลังเมื่อได้รับของสิ่งนั้น

อภิปรายในชั้นเรียนและเขียนเรียงความเรื่อง “ถ้าฉันมีเงิน 1 พันล้านบาท ฉันจะรู้สึกอย่างไร?”

·       Neuro-linguistic programming (NLP) ฝึกการคิดบวก 7 วัน – กิจกรรมที่ฝึกการคิดบวกตลอด 7 วัน  โดยให้ระงับความคิดที่เป็นลบที่เกิดขึ้นทุกครั้ง

ทำกิจกรรม
I’m OK, You’re Ok และมอบหมายให้ฝึกการคิดบวกเพียงอย่างเดียวตลอด 7 วัน

·       Nic Vujicic - the Chicken Drumstick

อภิปรายในชั้นเรียนเกี่ยวกับความโชคร้ายของตนเอง ก่อนนำเสนอวิดีโอ
Nic

·       เทคนิคการจำ –– ฝึกให้เด็กจำตัวเลขเป็นภาพ  รวมถึงทบทวนเรื่องการใช้ Mind Mapping

กิจกรรมในชั้นเรียน –
ทดลองจำตัวเลข 1-10 จำนวน 30 ตัวในภายใน 10 นาที




สัพเพเหระกับครูเชฐ

8/2/58 "ครูแบบไหนที่เหมาะกับลูกเรา" article
20/5/57 "เกรด 4 ไม่ได้การันตี "เด็กเก่ง" ดนตรี กีฬา งานอดิเรกสำคัญ"
6/2/2557 "โทรทัศน์ ให้อะไรกับเด็ก"
16/9/56 "เมื่อลูกเป็น 'เด็กเลี้ยงแกะ' รับมืออย่างไรให้ได้ผล"
21/8/56 "จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ "เหตุไฉน...เด็กไทยไอคิวต่ำ"
12/7/56 "ลูกพูดช้า"
30/10/55 "ออกกำลังให้ชีพจรเต้นแรง ช่วยเสริมพลังสมอง"
2/5/55 "ศิลปะกับเด็ก"
20/4/55 "โรงเรียนทางเลือกกับทางเลือกในการศึกษาของประชาชน"
20/4/55 "มาเรียนรู้...การใช้ชีวิตให้ช้าลง"
11/10/53 "Cone of Experience"
21/9/53 "เด็กยิ่งออกกำลังกาย ยิ่งกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น"
14/9/53 "หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช"
11/9/53 "น้องเดียว"
25/6/53 เจาะจุดเด่น "8 แนวการศึกษาทางเลือก" ตัวช่วยเลือกร.ร.ให้ลูก
24/9/52 "รักลูก.. (ไม่)ให้ตี"
9/7/52 "ช่วยด้วย... หนูเครียด"
19/5/52 "68 สุดยอดหนังสือเด็ก"
30/4/52 "โรงเรียนทางเลือก สวรรค์ชั้นแปดของพ่อแม่"
1/2/52 "พิษภัยจากทีวี"
21/1/52 "ทำความดีบริจาคอวัยวะ สร้างกุศลยิ่งใหญ่"
3/10/51 "สารเคมีในสมอง เรื่องที่ผู้แวดล้อมเด็กควรรู้"
18/9/51 "สมศ. รอบ 2"
17/9/51 "web ดีมีประโยชน์"
27/8/51 "เลขคณิตคิดสนุก แนะพ่อแม่สอนลูกๆ จากกิจกรรมในบ้าน"
5/3/51 "Ingredients for Play"
5/2/51 "แล้วแนวไหนดีกว่า..?"
20/9/50 "ดนตรี ของเล่น ภาษาธรรมชาติ : 3 พลังเพิ่มไอคิวลูก"
31/8/50 "พหุปัญญา vs. หนูดี"
20/8/50 "เผยสูตร 'ลับ' สร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะ"
20/7/50 "ชวนไปเล่นเรือใบ"
28/2/50 "สมศ. กับผู้บริโภคการศึกษา" article
17/1/50 "พอเพียง" article
30/11/49 "เรียนรู้ผ่านการเล่น" article
22/11/49 "ลิงในห้องแคบ" article
22/11/49 "แนะนำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ" article
21/11/49 "การสอบ NT" article
20/11/49 "โรงเรียนทอรักกับสถานปฏิบัติธรรม" article
บทความเก่า - 6 เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ เคล็ดลับสำหรับเด็กเกลียดเลข article
บทความเก่า - การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ article
บทความเก่า - แนวคิดทฤษฎีใหม่ article
บทความเก่า - FAQs ของแนวการเรียนการสอนทอรัก article



dot
dot
bulletปฏิบัติธรรม
bulletรับสมัครผู้ใหญ่ใจดี
dot
เสียงสะท้อนผู้ปกครองทอรัก
dot
bulletคุณแม่น้องเกมส์
bulletคุณแม่น้องเพิร์ท
bulletคุณแม่น้องจอร์นและน้องเจอรี่
bulletคุณแม่น้องดัยโน่
bulletคุณแม่น้องพลอยและน้องฝน
bulletคุณแม่น้องปัน ลูกรัก 6
bulletคุณแม่น้องเก็ต
bulletคุณแม่น้องเหนือ
bulletคุณพ่อน้องฝ้าย
dot
ข่าวประชาสัมพันธ์
dot
bulletผลการเรียนต่อ ม.1 ทุกรุ่น
bullet"บอกบุญ"
bulletบทสัมภาษณ์นิตยสารดิฉัน***
bulletช่อง 9 เข้าถ่ายทำรายการ
bulletทอรักใน นสพ.บางกอกโพส
bulletบทสัมภาษณ์ นิตยสารรักลูก
dot
**********
dot
bulletDay Camp T2/50 ตอน "พลังงานทดแทน"
bulletDay Camp ตอน "ของดีเมืองปากน้ำ"
bulletบรรยายพิเศษ "เลี้ยงดูแบบไหนได้ใช้ศักยภาพสมองสูงสุด"
bulletหลักฐานความสำเร็จของการไม่เร่งเด็ก
dot
**********
dot
bulletปฏิบัติธรรมรุ่น2 28/1/50
bulletตักบาตรทุกวันศุกร์เว้นศุกร์
bulletปฏิบัติธรรมรุ่นที่1 19/11/49
bulletแผนที่โรงเรียนทอรัก
dot
แหล่งเรียนรู้ของชุมชน
dot
bulletนิสิต มศว. เข้าเยี่ยมชม
bulletคณาจารย์ มศว. เข้าเยี่ยมชม
bulletนิสิตป.โท จุฬาเข้าทำวิจัย
bulletนิสิตจุฬา ป.เอก เข้าเยี่ยมชมและสังเกตการปฏิบัติงานของครูทอรัก
bulletนิสิตจุฬา ป.เอก เข้าเยี่ยมชม
bulletนิสิตจุฬา ป.โท สังเกตพฤติกรรมเด็กทอรัก
bulletโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ เข้าเยี่ยมชมงานบริการ
bulletนิสิตจุฬา ป.โท ทำวิทยานิพนธ์
bulletสนามวิจัย ป.เอก จุฬาฯ ปฐมวัยฯ
dot
ภาพถ่ายกิจกรรมของโรงเรียน
dot
bulletคลิกชมภาพกิจกรรม
dot
การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
dot
bulletโครงการเกษตรพอเพียง
bulletกองทุนเพื่อการเรียนรู้
bulletโครงการธนาคารขยะ
bulletโครงการค่ายยุวพุทธ
bulletProject Approach
bulletThe Rock of Taurak
bulletกิจกรรมเลือกตั้งประธาน นร.


visalo.org รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล
วัดสนามใน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
โรงเรียนทอรัก
มุ่งมั่นในการพัฒนาเด็ก

โทร. 086-677-1200, 089-679-2500

Email : taurakschool@hotmail.com