ที่มา: http://www.momypedia.com/webboard/
สมองมนุษย์พัฒนาจากความรู้สึก การเคลื่อนไหว การพูด การคิด และจินตนาการ การดูโทรทัศน์บ่อยๆ และนานๆ ทำให้สมองซีกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดคือ ซีกขวา ทำงานอย่างหนัก

ก่อนที่เมืองไทยจะไม่มีอะไรดีๆ เหลือให้โทรทัศน์มีโอกาสได้ทำลายให้สิ้นซากอีก อย่างน้อยในวันนี้ก็ขอให้ช่วยกันหาวิธีดูแลเด็กๆ ด้วย ถ้ามันสายไปสำหรับเด็กโตเสียแล้ว ก็โปรดอย่าปล่อยให้สายเกินไปสำหรับเด็กเล็ก เพราะเขาอยู่ในฐานะที่เป็นเหยื่อตลอดเวลา มีข้อมูลมากมายแสดงให้ประจักษ์ว่าเขาดูแลตนเองไม่ได้เลย เช่น
§ การวิจัยจำนวนมากมายแสดงว่าเด็กอายุต่ำกว่าแปดขวบไม่สามารถแยกแยะการโฆษณาสินค้าในโทรทัศน์ได้เลยว่าอะไรจริง อะไรถูกต้อง อะไรไม่มีอคติ ผลกระทบต่อเด็กก็คือ เขาได้ก่อรูปการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นผลดีกับสุขภาพมาตั้งแต่เล็ก ลงท้ายเมื่อยังไม่ทันจะเป็นผู้ใหญ่ดี เด็กเหล่านี้ก็เริ่มเป็นโรคอ้วน ปัญหานี้เป็นปัญหากว้างขวางมากในสหรัฐอเมริกา จนทำให้สมาคมนักจิตวิทยาอเมริกันให้ข้อเสนอแนะว่าการโฆษณาที่เด็กอายุตำ่กว่าแปดปีจะต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เช่น ดร.เดล คุนเกล แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่งซานตาบาร์บารา ค้นพบว่าเนื่องจากเด็กเล็กไม่เข้าใจเจตนาการชวนเชื่อของการโฆษณา เขาจึงตกเป็นเป้าแห่งการชวนเชื่อทางการค้าอย่างง่ายดาย ส่วน ดร.ไบรอัน วิลคอก แห่งมหาวิทยาลัยเนบราสกา ก็ยืนยันว่า นี่เป็นความห่วงใยที่สำคัญเพราะสินค้าส่วนมากที่มุ่งเป้าไปที่เด็กคืออาหารผสมนำ้ตาลต่างๆ ลูกอม ขนมหวาน นำ้หวานและของขยเคี้ยว การโฆษณาสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเหล่านี้ต่อเด็กๆ ก่อให้เกิดนิสัยการกินผิดๆ ที่อาจจะดำรงอยู่ตลอดชีวิต และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนในหมู่เด็กๆ
§ การวิจัยเรื่องหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ.๒๐๐๐ คำนวณว่ามีการลงทุนถึงปีละ ๑๒ พันล้านเหรียญในการซื้อเวลาโฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีเยาวชนเป็นเป้าหมาย และในแต่ละปีเยาวชนอเมริกันจะต้องดูโฆษณาจำนวนมากถึง ๔๐,๐๐๐ เรื่องต่อคน
§ ในขณะที่เด็กเล็กๆ ดูโทรทัศน์ เขามักจะอยู่ในภาวะจังงัง ผิดกับตอนที่ไม่ได้ดูโทรทัศน์ บางคนต้องทำตัวแอบๆ ซ่อนๆ ในขณะที่ดูโทรทัศน์ เพราะถูกกดดันจากโทรทัศน์ให้ต้องตั้งใจดูอย่างจริงจัง หลังจากดูแล้วมักตกอยู่ในสภาพของคนขี้รำคาญ แสดงอาการประสาทๆ ขี้เบื่อ ชอบทะเลาะเบาะแว้ง
§ การดูโทรทัศน์มักจะทำให้เด็กติดงอมแงมเหมือนติดยาเสพติด จนหยุดดูโทรทัศน์ไม่ได้คล้ายๆ กับคนติดเหล้า ประสบการณ์ในการดูโทรทัศน์จะมีลักษณะเสมือนการฝันกลางวันสายตาจดจ้องอยู่ที่จอโทรทัศน์อย่างไม่ละ ศรีษะ และร่างกายแข็งกระด้างไม่เคลื่อนไหวตามธรรมชาติเป็นเวลานานๆ จนส่งผลกระทบในทางลบต่อพัฒนาการของสมอง
§ สมองมนุษย์พัฒนาจากความรู้สึก การเคลื่อนไหว การพูด การคิด และจินตนาการ การดูโทรทัศน์บ่อยๆ และนานๆ ทำให้สมองซีกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดคือ ซีกขวา ทำงานอย่างหนัก สำหรับเด็กเล็กๆ การที่ได้รับภาพจำนวน ๖๒๕ เส้น ๘๐๐ จุด ซึ่งปรากฏตัว ๒๕ ครั้งต่อวินาที นั้นถือว่าเหนื่อยมาก นอกจากนี้การไม่ค่อยขยับสายตาทำให้เกิดภาวะไม่ยอมหลับ ความกังวล ฝันร้าย การปวดหัว การมองเห็นที่ผิดปกติ สมาธิสั้น และความรู้สึกมึนชา ลงท้ายเด็กเล็กเหล่านี้กำลังถูกลิดรอนทักษะแห่งความรู้สึกไปอย่างมาก
เนื่องจากการดูโทรทัศน์เป็นประสบการณ์แห่งการรับรู้อย่างเฉยเมย ฉะนั้น สมอง ซีกซ้าย ที่ควบคุมการพูดและเหตุผลจึงมีโอกาสได้ทำงานน้อยลงอย่างชัดเจน เพราะในการเรียนรู้ที่จะพูดเด็กจะต้องฝึกฝนกับคนจริงๆ เนื่องจากโทรทัศน์เน้นภาพ โอกาสในการเรียนรู้ทักษะการพูดของเด็กจึงลดลง เพราะโทรทัศน์ไม่บังคับให้เด็กต้องตอบโต้ ทักษะในการพูดที่น้อยลงจะส่งผลกระทบในทางลบต่อความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ เพราะเด็กจะขาดแรงจูงใจในการเสาะแสวงหาถ้อยคำใหม่ๆ
§ การดูโทรทัศน์มากๆ ที่หมายถึงการดูภาพจำนวนมากๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลา จะส่งผลให้เด็กขาดสมาธิที่จะทำอะไรนานๆ รวมทั้งการบ่มเพาะความเกียจคร้านที่จะอ่านหนังสือก่อให้้เกิดความเสียหายต่อการขยายพรมแดนแห่งความรู้และจินตนาการที่มักจะมากับการอ่านหนังสือ
§ เดิมทีวัฒนธรรมเด็กมีรากฐานอยู่ที่การละเล่น เสียงธรรมชาติและเพลงกล่อมเด็ก เด็กในยุคก่อนจึงสามารถเล่นอะไรได้นานๆ ด้วยความเอาใจใส่ การดูโทรทัศน์มากขึ้นทำให้ งาน ที่แท้จริงของเด็กคือ การละเล่น ค่อยๆ หายไปยังผลให้เด็กมีลักษณะเฉยเมย ไม่ค่อยริเริ่มอะไร การพบปะกับผู้คนจริงๆ ในระหว่างการละเล่นทำให้เด็กเขาได้เรียนรู้ทีละนิดว่าเขาคือ ใคร
โทรทัศน์ที่เต็มไปด้วยภาพและเสียงเชิงกลไก เป็นของปลอมๆ ไม่ได้ชักนำให้เด็กต้องสำนึกในความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างไปจากมนุษย์อื่น การดูโทรทัศน์มากทำให้เด็กเชื่อมโยงกับตนเองและมนุษย์อื่นในลักษณะที่เป็น ของ ที่เหมือนๆกัน ยังผลให้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไม่ได้รับการพัฒนา เด็กรุ่นโทรทัศน์ จึงมักจะมีความสามารถในการสร้างสรรค์ในเวลาที่ดำรวชีวิตจริงๆ ร่วมกับผู้อื่นได้ตำ่กว่าปกติ ลงท้าย เด็กรุ่นนี้อาจจะมีพฤติกรรมในเชิงที่ขัดกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นสังคม เพราะไม่มีความสนใจในตนเองและผู้อื่นในฐานะที่เป็นมนุษย์
รังสีเทียมๆ ของโทรทัศน์สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้เป็นอย่างมาก นักวิทยาศาตร์ท่านหนึ่งได้ค้นพบว่าต้นถั่วที่ปลูกไว้ใกล้จอโทรทัศน์จะได้รับอิทธิพลจากสารพิษของโทรทัศน์ เช่น รากของถั่วจะผุดขึ้นมาจากใต้ดิน เป็นต้น คำถามก็คือเด็กที่ดูโทรทัศน์มากจะได้รับอิทธิพลจากรังสีและแสงเทียมของโทรทัศน์ที่มนุษย์ยังไม่สามารถเข้าใจได้สักเพียงใด
ความที่องค์ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของโทรทัศน์ต่อเด็กในสหรัฐอเมริกามีประวัติศาสตร์ยาวนาน ดังนั้น ความเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะปกป้องเด็กจากโทรทัศน์ จึงปรากฏตัวขึ้นหลายรูปแบบ เช่น กฎหมายของรัฐบาลกลางว่าด้วยการสื่อสารแห่ง ค.ศ.๑๙๙๖ ได้ระบุเอาไว้ว่าหลังจากกฎหมายฉบับนี้มีผลครบสองปีแล้ว ให้มีการผลิตเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า V-chip เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของพ่อแม่ในการควบคุมว่าจะตัดรายการโทรทัศน์ใดจากการเข้าถึงของเด็ก
ขอบคุณข้อมูลดีๆ : สมาคม ไทสร้างสรรค์
อ่านเพิ่มเติม http://taiwisdom.org/artclnchdev/tv_vs_kds/chldrsng01