ReadyPlanet.com
dot dot
ทอรักกับสื่อ

โรงเรียนทอรักได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ

"เข้าโรงเรียนไหน? ใจสบายทั้งบ้าน"

โรงเรียนแนวใหม่ ทางเลือกให้ลูกฉลาดอย่างมีความสุข

เดือนมิถุนายน 2557



 

รายการ Body & Mind ASTV เข้าสัมภาษณ์ครูเล็กในหัวข้อ

"ภาษาธรรมชาติ การเรียนรู้ขั้นพื้นฐานของเด็กเล็ก"

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม 2555


  

รายการพ่อแม่มือใหม่ หัวใจเกินร้อย

บทสัมภาษณ์อาจารย์วราภรณ์ โพธิ์ศรีประเสริฐ

เรื่อง "ภาษาธรรมชาติ"

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2555 


ไทยทีวีสีช่อง 3 - รายการ "สมรภูมิไอเดีย"

เข้าถ่ายทำกิจกรรมทำนาปลูกข้าว

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553

  

-----------------------------------------------------------------------

สมรภูมิไอเดีย : คนไทยไม่ไร้ไอเดีย "ข้าว"  ออกอากาศ 12 พ.ย. 53
(ที่มา:
http://www.bectero.com/tv/brainchild/news-detail.php?nid=214)

 

 

 

 

Break  1  :: ไอเดียตั้งไข่ - หลักสูตรการทำนา โรงเรียนทอรัก

 

มาเริ่มกันที่ไอเดียตั้งไข่ ไอเดียใสๆ จากน้องๆ วัยกระเตาะ จากโรงเรียนทอรัก เพราะโรงเรียนนี้เค้าไม่ได้มีดีเพียงแค่การเรียนการสอนในหลักสูตรเท่านั้น เขายังเพิ่มเติมประสบการณ์ชีวิต อย่างการเรียนรู้หลักเกษตรพอเพียง ปลูกฝังน้องๆ กันตั้งแต่เยาว์วัยอีกด้วย เรียนรู้กันตั้งแต่เด็กอย่างนี้ มีหวัง เด็กที่นี่ทานข้าวหมดจาน อ้วนพลีไม่มีเหลือ
จะสนุกสนานปนสาระความรู้ แฝงแง่คิดดีๆ ให้รู้จักคุณค่าของข้าวมากแค่ไหน ไปติดตามกันให้ได้ใน ....
“สมรภูมิไอเดียทั่วไทย ตอน คนไทยไม่ไร้ไอเดีย”

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

“ดาว-เอก”ตะลุยทำนา“สมรภูมิฯ”โฉมใหม่

(ที่มา: http://www.naewna.com/news.asp?ID=235636)

 

รายการ “สมรภูมิไอเดีย” ทางช่อง 3 ศุกร์นี้ ปรับรูปแบบรายการใหม่ สมรภูมิทั่วไทย ตอน “คนไทยไม่ไร้ไอเดีย” เริ่มตั้งแต่ไอเดีย “ตั้งไข่” ที่เปิดพื้นที่ให้น้องๆ แสดงพลังความคิดแบบไร้ขีดจำกัด และปิดท้ายด้วยไอเดีย “ภูมิปัญญา” ที่เห็นแล้วต้องอึ่งในความสามรถ ประเดิมเทปแรกด้วยไอเดีย “ตั้งไข่” ซึ่ง ดาว- อภิสรา แท็กทีมพิธีกรคู่ เอก–วิชัย จงประสิทธิ์ บุกโรงเรียนทอรัก จ.สมุทรปราการ โรงเรียนเอกชนแห่งแรกที่เปิดหลักสูตร “เกษตรพอเพียง” ที่แทรกหลักสูตรการทำนา ให้เยาวชนสำนึกรัก “ข้าวไทย” โดยให้น้องๆ อนุบาล ถึงประถม 6 ทำนาได้ทั้งโรงเรียน งานนี้ 2 พิธีกรไม่รอช้า ลงทุนปัก เกี่ยว เก็บร่วมกับน้องๆ อย่างแข็งขัน โดยเฉพาะสาวดาวที่น้องๆ เอ่ยชมไม่หยุดปาก ติดตามชมได้ศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายนนี้ 15.55 น.ทางช่อง 3

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

http://www.banmuang.co.th/Entertrainment.asp?id=220171

โดย บ้านเมืองออนไลน์ เมื่อเวลา 9:37:00  วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2553

“ดาว” ชม “โรงเรียนทอรัก”

“ดาว” ชม “โรงเรียนทอรัก”
ทำนาตั้งแต่อนุบาล

      รายการ “สมรภูมิไอเดีย” ศุกร์นี้เทปแรกกับรูปแบบใหม่ สมรภูมิไอเดียทั่วไทย ตอน “คนไทยไม่ไร้ไอเดีย” เริ่มตั้งแต่ไอเดีย “ตั้งไข่” พื้นที่สำหรับน้องๆ วัยกระเตาะ ไปจนถึงระดับประถมศึกษา ก่อนมาที่ไอเดียต้นกล้า กับวัยนักเรียนนักศึกษา ที่กล้าแสดงพลังความคิดของตัวเองแบบไร้ขีดจำกัด และปิดท้ายด้วยไอเดีย “ภูมิปัญญา” ที่มาพร้อมไอเดียแบบเหนือเทพ เห็นแล้วต้องอึ้ง

      โดยเทปนี้ประเดิมด้วยไอเดียตั้งไข่ ซึ่ง “ดาว-อภิสรา นุตยกุล” แท็กทีมพิธีกรคู่ “เอก-วิชัย จงประสิทธิ์พร” บุกโรงเรียนทอรัก จ.สมุทรปราการ โรงเรียนเอกชนเพียงแห่งเดียวที่เปิดสอนหลักสูตร “เกษตรพอเพียง” ที่แทรกการทำนา ปลูกฝังให้เยาวชนสำนึกรัก “ข้าวไทย” เข้าไปด้วย โดยน้องๆ ตั้งแต่อนุบาล ถึงประถม 6 สามารถทำนาได้ทั้งโรงเรียนเลยทีเดียว งานนี้ 2 พิธีกร ไม่รอช้า ลงทุน ปัก เกี่ยว เก็บร่วมกับน้องๆ อย่างแข็งขัน โดยเฉพาะ “สาวดาว” ที่เอ่ยชื่นชมน้องๆ ไม่หยุดปาก ติดตามชมได้ใน “สมรภูมิไอเดีย” ศุกร์ที่ 12 พ.ย.นี้ เวลา 15.55 น. ทางช่อง 3

 


บทสัมภาษณ์นิตยสาร "family weekend" ฉบับ ถ ถุง 022 march 2010

คลิกที่ภาพเพื่ออ่าน


ช่อง 3 รายการ "ช่วยคิด ช่วยทำ" เข้าทำสกุ๊ปข่าว

ตุลาคม 2552 


Tau Rak Day Camp  ตอน “สร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายอาชีพในฝัน Part1&2”
(30 มี.ค. -10 เม.ย. 2552)  (20 เม.ย. -1 พ.ค. 2552)

***ไทยพีบีเอสเข้าทำสกุ๊ปข่าว***  (คลิกเพื่อชม)

คลิกด้านล่างเพื่อชมภาพกิจกรรม

Camp1
เยี่ยมชมเทศบาลตำบลบางปู
เยี่ยมชมอาชีพชาวประมง
พี่กุ๊งกิ๊งนำเสนออาชีพนักเขียนนิทานเด็ก
เยี่ยมชมการทำงานของผู้พิพากษาที่ศาล
เยี่ยมชมการทำงานของหมอและพยาบาล

Camp2
เยี่ยมชมโรงเรียนนายเรือ
เยี่ยมชมโรงไฟฟ้า
เยี่ยมชมโรงพยาบาลสัตว์
เยี่ยมชมร้านทำขนม
นักข่าวนำเสนออาชีพ
เยี่ยมชมอาชีพนักบิน
เยี่ยมชมสถานีตำรวจ
สถาปนิกนำเสนออาชีพ

 


วันที่ 27 พฤษภาคม 2551 คอลัมนิสต์จากนิตยสาร "ดิฉัน" เข้าสัมภาษณ์ครูเชฐ

เรื่อง การจัดการศึกษาทางเลือก  ในคอลัมน์ "เขาพูด เธอพูด"
ซึ่งตีพิมพ์ในปักษ์ของเดือนกรกฎาคม 2551

คลิกด้านล่างสำหรับบทสัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์แล้ว

http://www.taurakschool.net/images/1212030165/1215485365.jpg

http://www.taurakschool.net/images/1212030165/!IMG_0004(2).jpg

http://www.taurakschool.net/images/1212030165/!IMG(2).jpg

http://www.taurakschool.net/images/1212030165/!IMG_0003(2).jpg

http://www.taurakschool.net/images/1212030165/!IMG_0002(2).jpg

http://www.taurakschool.net/images/1212030165/!IMG_0005(2).jpg


บทสัมภาษณ์ นิตยสารรักลูก

 
 
เกษตรพอเพียงกับเด็กอนุบาล


ได้ทราบมาว่าโรงเรียนทอรักมีโครงการเกษตรพอเพียง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนแบบ Thematic Approach อยากทราบแนวการสอนว่าเป็นอย่างไรเป้าหมายคืออะไร และจะช่วยปลูกฝังเด็กในเรื่องอะไรบ้างคะ

เลือกไม่ถูก/กรุงเทพฯ


สำหรับการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเกษตรพอเพียงซึ่งเป็นโครงการที่จะใช้สอนในระดับชั้นประถม โดยหลักการโครงการนี้จะไม่แยกเด็กให้เรียนเป็นรายวิชา แต่จะนำเนื้อหาของทั้ง 4 วิชาหลักได้แก่ สังคม วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ดนตรีและศิลปะ มาปรับปรุงใหม่ให้อยู่ภายใต้หน่วยย่อย (หรือ Theme) คือ
1. หน่วยพืชใกล้ตัว
2. หน่วยสัตว์โลกน่ารัก
3. หน่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
4. หน่วยสรรพสิ่งในธรรมชาติ
5. หน่วยเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
สำหรับนักเรียนในระดับอนุบาลนั้นทางโรงเรียนได้ใช้แนวการสอนแบบภาษาธรรมชาติ ซึ่งเด็กนั้นจะต้องเรียนรู้ "ภาษา" จากประสบการณ์จริง โดยตัวกิจกรรมในโครงการเกษตรพอเพียงของพี่ประถมจะเป็น "สนามทดลอง" ให้เด็กอนุบาลได้ทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการปลูกผักสวนครัว การรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ให้อาหารสัตว์ อีกทั้งยังเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยหน้าที่ในการจำหน่ายเป็นของพี่ที่ดูแลโครงการ และเด็กอนุบาลยังมีโอกาสเข้ามาเรียนรู้เรื่อง "วิถีพอเพียง" ของพี่ประถมด้วย

ในหนึ่งการศึกษา โครงการเกษตรพอเพียงจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 และตลอดทั้งปีการศึกษา

ในแต่ละหน่วยย่อยนี้เด็กจะได้เรียนเนื้อหาของทั้ง 4 วิชาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในหน่วยย่อยทั้ง 5 นี้จะอยู่ภายใต้หน่วยใหญ่ (หรือ Theme ใหญ่) คือ เกษตรพอเพียงเพื่อให้เกิด "ร่ม" หรือ "จุดประสงค์" ของการเรียนหน่วยย่อยต่างๆ

การเรียนการสอนแนวนี้อยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า
  • ในชีวิตจริงเมื่อคนเราเจอกับปัญหาต้องใช้ความรู้ในหลากหลายวิชาพร้อมกันในการแก้ปัญหานั้นๆ (เช่นเดียวกันกับทางรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ เช่น น้ำท่วม ต้องนำหลายกระทรวงเข้ามาร่วมแก้ปัญหา)

  • การสอนแบบ Theme นั้น เป็นการบูรณาการเต็มรูปแบบของหลายวิชาเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีประสิทธิภาพกว่าการสอนแยกรายวิชา

  • เด็กจะได้เรียนรู้จากของจริง และสามารถประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้ดีกว่า เนื่องจากหัวข้อของหน่วยย่อย นำมาจากหัวข้อที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนกว่าการท่องจำ

  • มีรายงานวิจัยว่าการสอนบูรณาการแบบ "องค์รวม" ทำให้เรียนรู้ได้ดี เพราะสมองสามารถจดจำข้อมูลองค์รวมได้ดีกว่า

  • เมื่อกำหนด "ร่ม" ใบใหญ่ที่เรียกว่า "เกษตรพอเพียง" มาครอบหน่วยย่อยต่างๆ จะเป็นการปลูกฝังการดำเนินชีวิตและเข้าใจถึงวิถีพอเพียงได้มากยิ่งขึ้น

  • เด็กที่ได้เรียนแนวนี้จะรักที่จะเรียน EQ ดี เพราะเขาจะสนุกและมีความสุข

  • ในแง่ของเนื้อหาวิชาการหากจะให้เปรียบเทียบกับประถมต้นของโรงเรียนอื่นๆ แล้ว เด็กบางคนอาจสู้ไม่ได้ แต่หากรอจนถึงประถมปลาย พบว่าเด็กส่วนใหญ่จะเรียนเก่ง และยังสามารถเข้าเรียนต่อ "ห้อง King" ในระดับมัธยมเป็นจำนวนมาก (ดูได้จากสถิติการเข้าเรียนต่อระดับชั้นมัธยมของโรงเรียน)
การใช้โครงการการเกษตรพอเพียงเป็นสนามทดลองให้กับเด็กๆ อนุบาลนั้น จะช่วยปูพื้นฐานการเรียนรู้ การลงมือกระทำซึ่งจะทำให้เด็กสนุกและมีความสุข แม้จะยังไม่สามารถเข้าใจวิถีพอเพียงได้เท่าใดนักก็ตามที แต่ฐานต้นที่ดีจะส่งต่อแนวคิดในภายภาคหน้าด้วย

อ.พิเชฐ โพธิ์ศรีประเสิรฐ (ครูเชฐ)

[ ที่มา.. นิตยสารรักลูก ปีที่ 25 ฉบับที่ 299 ธันวาคม 2550] 


ช่อง 9 เข้าถ่ายทำรายการ "โลกใบใหม่" (เมษายน 2551)

รายการ "โลกใบใหม่"  ได้เข้ามาถ่ายทำการเรียนการสอนเรื่องพลังงานทดแทน

ในช่วงแคมป์ปิดเทอมที่ผ่านมา ซึ่งจะออกอากาศทางช่อง 9 ในเดือนมิถุนายนนี้

คลิกเพื่อชมภาพ  เบื้องหลังการถ่ายทำ 

 

 

 


ทอรักใน นสพ.บางกอกโพส  

 

http://www.bangkokpost.com/030408_Mylife/03Apr2008_fam009.php

MY ACADEMY

Teaching them young

A day camp that instills the idea of climate change

ANJIRA ASSAVANONDA

How can children help save the world? Tau Rak School has started a day camp to raise awareness about global warming among children and guide them through alternative ways to save the planet.

The idea and method

Children will be guided to various experiments to create alternative energy.

"Each lesson will instill the idea of climate change, while the information will help build a strong scientific background that could increase their potential to become a thinker, an initiator or an inventor of the new generation," said Pichet Poesriprasert, director of Tau Rak School.

The camp activities will comprise hands-on experiments designed for children from kindergarten to Pratom six levels, and will include study tours to places that are good models for energy saving.

What's in the camp?

Programmes for primary students

- A visit to Chitralada Palace to learn about His Majesty the King's alternative energy projects.

- A study tour to Samut Prakarn provincial police station to observe the agency's use of biodiesel in its patrolling vehicles.

- Simple experiments on producing biodiesel.

- Demonstration of a simple production of electricity from easy-to-find chemical substances: Making simple battery from aluminum foil, salt water and activated charcoal.

- A study on production of electricity from bio-substances such as banana trunk.

- A visit to a windmill farm.

- An experiment to generate electricity from wind energy and solar cells.

- A study tour to the Bangkok Planetarium.

- Cooking lesson using alternative energy.

Programmes for kindergarten pupils

- Paint their own cloth bags, making each bag a "single piece of the world". DTree planting for cleaner air and a greener environment.

- Making photo frames and baskets from recycled paper.

- Painting with plastic straws: Children will learn about water pressure and how to keep it under control.

- Painting with coloured ice: Children will observe how changing temperature affects the status of water.

- Making a kite with used newspaper and the tree sprouts: To learn about the force of the wind.

- Experiment with a bottle fountain: How the different water levels affect the water pressure.

- Group discussions.


  •  บริษัท Nippon Production Service ผู้ผลิตรายการทีวี "โลกการ์ตูน" สำหรับช่อง 9 อสมท. ได้เข้ามาถ่ายทำโครงการเกษตรพอเพียง และแนวการเรียนการสอนแบบ Project ที่โรงเรียนทอรัก โดยจะออกอากาศในวันเสาร์ที่ 10 และเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2547 เวลา 6.30 น. งานนี้ห้ามพลาดค่ะ!!

  • นิตยสาร Kids and School เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนทอรัก ในวันที่ 30 เมษายน 2547 ที่ผ่านมา โดยเข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอน และเก็บภาพของคุณครูและเด็กขณะร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งมีการสัมภาษณ์ พูดคุยกับผู้บริหาร คณะครู และเด็กๆ คาดว่าบทสัมภาษณ์โรงเรียนทอรักครั้งนี้ จะตีพิมพ์ในนิตยสาร Kids and School ฉบับเดือนกรกฎาคมนี้ค่ะ อย่าลืมจับจองก่อนหมดนะคะ

กิจกรรมเกษตรพอเพียง ปลูกฝังตั้งแต่วัยอนุบาล

 

 

โรงเรียนทอรัก ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เด็กๆ กำลังช่วยพี่ๆ ชั้นประถมรดน้ำผักกันอยู่พอดี

เด็กๆ กลุ่มนี้กำลังเรียนรู้ในค่ายหนูน้อยอัจฉริยะช่วงปิดเทอมค่ะ จึงต้องมาช่วยดูแลแปลงผักให้กับพี่ๆ ชั้นประถมแทน หลังจากรดน้ำแปลงผักบุ้ง ถั่วฝักยาว และตะไคร้แล้วก็ต้องช่วยกันพรวนดิน เพราะรากจะได้หาอาหารได้สะดวก โตไวๆ จากนั้นเด็กๆ ก็ร่วมใจกันเก็บขยะต่อ เพื่อให้แปลงผักดูสะอาดตา


คุณครูอ้อย วรรณภา แก้วปัชฌาย์ คุณครูประจำชั้นอนุบาล 2 เป็นผู้ช่วยในการแจกอุปกรณ์ และคอยเติมน้ำใส่ฝักบัวให้กับเด็กๆที่ต่อคิวกันเป็นแถว

 

พี่ปลูก-น้องรด-กินอยู่พอเพียง


สอบถามถึงกิจกรรมที่เด็กๆ กำลังทำอยู่จาก คุณพิเชษฐ์ โพธิ์ศรีประเสริฐ ผู้อำนวยการ โรงเรียนทอรัก ได้ความว่า "เกษตรพอเพียง" เป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นโครงการของทางฝั่งระดับประถมศึกษา มีทั้งการปลูกข้าว ปลูกผักชนิดต่างๆ เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ดและไก่ โดยเฉพาะไก่ในช่วงหลังนี้ต้องยกเลิกไปชั่วคราวเนื่องจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก


เกษตรพอเพียงที่ทางโรงเรียนทำอยู่ ถือว่าเป็นไปอย่างครบวงจร เช่น การปลูกข้าวก็เริ่มตั้งแต่เพาะเมล็ด เตรียมดิน หว่าน เก็บเกี่ยว และใช้ครกกระเดื่องตำเพื่อให้ได้ข้าวออกมาจำหน่ายหรือมีการแปรรูปอย่างง่ายๆ


สำหรับน้องหนูชั้นอนุบาลด้วยข้อจำกัดในเรื่องของวัย ดังนั้น คำว่าเกษตรพอเพียงจึงเป็นการมีส่วนร่วมในบางจุด เช่น เข้ามาช่วยพี่ๆ รดน้ำต้นไม้ พรวนดิน หรือให้อาหารปลา แต่คุณครูตามชั้นต่างๆ ก็จะมีการอธิบายถึงแนวคิดของเกษตรพอเพียงอย่างง่ายๆ ให้เด็กเข้าใจได้ว่าการทำอย่างนี้เป็นลักษณะของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง พอกินพอใช้ ไม่ต้องฟุ้งเฟ้อ สิ้นเปลือง

 

หนูปลูกผักไว้กินเองด้วย


เด็กๆ ที่นี่มีแปลงผักของตนเองด้วยค่ะ ในชั้นอนุบาลจะมีหน่วยการเรียนเรื่องชุมชน เรียนรู้ถึงบุคคลและอาชีพในชุมชน เมื่อเด็กๆ ต้องการเรียนเรื่องการปลูกผัก ก็จะพาไปสวนผักใกล้ๆโรงเรียนเพื่อไปดูแปลงผักและพูดคุยกับคุณลุงคุณป้าเจ้าของสวน


หลังจากนั้นเด็กๆ ก็จะลงมือปลูกผักเองและช่วยกันดูแลแปลงผักทุกเช้า ทั้งรดน้ำ พรวนดิน ถอนหญ้า เก็บขยะ เสร็จแล้วก็ล้างมือให้สะอาด หยิบกระเป๋าเข้าห้องเรียน


คุณครูอ้อยบอกว่า เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่แปลงผักของเขาเอง อย่างช่วงที่ปลูกผักบุ้ง เด็กช่วยดูแลกันอยู่ทุกวัน แต่วันหนึ่งมีเจ้าหมาเข้ามาคุ้ยดินไปถึงครึ่งแปลง เด็กๆ ก็ช่วยกันคิดแก้ปัญหาด้วยการใช้กิ่งไม้มาปักเป็นรั้วกันไม่ให้หมาเข้ามาคุ้ยดิน ถือเป็นการแก้ปัญหาของเด็กๆ ที่สร้างความภูมิใจให้กับตัวเอง

 

เรียน-เขียน-อ่าน ด้วยภาษาธรรมชาติ


หลังจากรดน้ำพรวนดิน ถึงเวลาที่เด็กๆจะขึ้นไปทำขนมบัวลอย ซี่งเป็นการเรียนแบบภาษาธรรมชาติ เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวการสอนดีๆ ของที่นี่


"ด ดอกอัญชัน / ด ดอกเก๊กฮวย / บ ใบเตย" เป็นการเริ่มต้นการสอนโดยใช้บัตรคำประกอบของจริง


ตามมาด้วย "จ จาน / ก กะทะไฟฟ้า / ท ทัพพี / ต ตะหลิว / ก กระชอน" 
และ "ป แป้งข้าวเหนียว / น น้ำตาล / ก เกลือ / น น้ำ" ส่วนผสมของขนมบัวลอย


วันนี้เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติจากพืชว่าได้มาจากอะไรบ้าง รวมถึง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ในการทำขนมบัวลอยด้วยการสื่อสารผ่านบัตรคำ เป็นการเรียนการสอนภาษาแบบธรรมชาติค่ะ


ด้าน อาจารย์พิเชษฐ์ พูดเสริมต่อเรื่องนี้ว่า การเรียนการสอนแบบภาษาธรรมชาติของเด็กอนุบาลเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ไปเจอของจริง บันทึกเป็นผลงาน ด้วยการใช้กลุ่มตัวอักษรที่เขาไปเจอกลับมาเรียนรู้ด้วยกัน เช่น เรียนรู้หน่วยพืช ครูก็จะให้พยัญชนะสัก 5 ตัว อาจจะมี ม มะม่วง เด็กก็จะพยายามใช้คำว่า มะม่วง ถ่ายทอดประสบการณ์ออกมา ซึ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัว


เห็นเด็กๆ ที่นี่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงด้วยวิถีแห่งธรรมชาติดีอย่างนี้แล้ว หวังว่าคำว่าบริโภคนิยมน่าจะค่อยๆ ลดลงไปจากกระแสสังคมได้บ้างนะคะ ถ้าเราช่วยกันปลูกฝังดังเช่นที่ทอรักกำลังทำอยู่

 


  • Kids and School

วันนี้เราตื่นเช้ากว่าวันอื่นๆ เพื่อไปเมืองปากน้ำ สมุทรปราการ มีนัดกับเด็กๆ โรงเรียนอนุบาลทอรัก ค่ะ เขาชวนไปดูการทำโครงการ "รักษาสิ่งแวดล้อม" ของโรงเรียน 

ไปถึงก่อนเวลาเด็กๆ จะเข้าแถวซะอีก จึงได้เห็นเจ้าลิงทะโมนและปูน้อยแสนซนทั้งหลายผละจากการเล่นสนุกของตัวเองอยู่ เดินไปเก็บขยะ ใบไม้ (ซึ่งเยอะมาก เพราะโรงเรียนนี้แวดล้อมไปด้วยต้นไม้) พร้อมคุณครู เมื่อได้ยินเพลง "ตาวิเศษ" ดูเหมือนเด็กๆ จะรู้กันเลยค่ะว่าเมื่อเพลงนี้ดังขึ้น ก็หมายว่าถึงเวลาที่จะช่วยกันเก็บขยะเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนแล้ว 

ภาพที่เด็กๆ ช่วยกันเก็บขยะนั้น ดูจริงจังเหมือนเขากำลังทำงานชิ้นสำคัญอยู่เก็บกันไปก็คุยกันไปกระหนุงกระหนิง กว่าจะรู้ตัวขยะก็เต็มที่ใส่ ต้องเดินเอาไปเทใส่กระบะที่คุณครูเตรียมไว้ให้ เก็บกันสักพักจนครูปิดเพลง เด็กๆ ก็ไปล้างไม้ล้างมือเตรียมตัวเข้าแถวแล้วจะได้สนุกกับกิจกรรมที่ครูจัดให้ภายใต้จุดประสงค์ของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไป 

ครูเล็ก (วราภรณ์ โพธิ์ศรีประเสริฐ) คุณครูใหญ่ บอกถึงที่มาที่ไปของการรณรงค์ เรื่องนี้ว่า เกิดจากการได้ศึกษาพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติที่มีระบุว่าการจัดการศึกษาต้องหันมาให้ความสำคัญกับชุมชนและท้องถิ่นมากขึ้น 

ครูเล็กและคุณครูคนอื่นๆ จึงได้หันมามองว่า ปัญหาของสมุทรปราการคืออะไร ก็พบว่า ความสกปรก มลภาวะทั้งหลายคือปัญหาของที่นี่ (ก็เล่นติดอันดับ 1 ของประเทศ เมืองที่มีมลภาวะ และเด็กๆ ก็เป็นหอบหืดกันเยอะมาก) ครูเล็กจึงคิดว่าน่าจะหัดมารณรงค์เรื่องนี้ โดยปลูกฝังให้เด็กๆ รู้สึกรักชุมชนตัวเอง บอกถึงสิ่งดีๆ ในชุมชนที่ได้เห็น และจะ รักษาสิ่งดีๆ นี้ไว้ให้ได้อย่างไร เมื่อเห็นสิ่งไม่ดี ก็มาช่วยกันคิดว่าเกิดจากอะไร จนในที่สุดก็ได้เรื่องหลักๆ ที่จะรณรงค์ 3 เรื่องคือ น้ำ อากาศ และขยะ โดยเรียนกันทั้งเทอม แต่ห้องไหนจะเรียนเรื่องอะไรก่อนก็ได้ 

แนวร่วมสำคัญที่ทางโรงเรียนต้องการให้มาร่วมมือกัน คือพ่อแม่ของเด็กๆ จึงต้องเริ่มปลูกฝังเด็กๆ ก่อน โดยหวังจะให้พวกเขานี่แหละค่ะไปคุยกับพ่อแม่ และพยายามให้พ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง ด้วยการนำสิ่งของเหลือใช้ที่มาให้ทางโรงเรียนเพื่อรีไซเคิลต่อไป และหวังว่าเมล็ดพันธุ์ที่คุณครูช่วยกันปลูกนั้นจะงอกงามขึ้นในใจดวงน้อยๆ ของพวก เขา และได้ช่วยกันดูแลรักษาชุมชนของตัวเองต่อไปได้บ้าง 

การสอนเด็กๆ นั้นต้องหมั่นย้ำบ่อยๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเขา ดังนั้นทางโรงเรียนจึงพร้อมใจกันรณรงค์เรื่องนี้ทุกระดับตั้งแต่เนิร์สเซอรี่ถึงอนุบาล 3 เลย โดยสอดแทรกไปกับการเรียนรู้เรื่องต่างๆ โดยจะคิดค้นรูปแบบและกิจกรรมต่างๆ ใหม่ๆ เข้ามา เพื่อให้เด็กๆ สนุกและได้เรียนรู้อยู่ เสมอ ซึ่งครูเองก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กด้วยเช่นกัน 

ในห้องเรียนเกือบทุกห้องที่เห็นนั้นมีโมบายล์ที่ทำจากกระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องเบียร์แขวนอยู่ เพื่อให้เด็กเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ยังมีประโยชน์ถ้าเรารู้จักคิดค้น แทนที่จะทิ้งให้เป็นเพียงแค่ขยะไร้ประโยชน์ 

อย่างที่บอกค่ะว่า คุณครูจะพยายามสอดแทรกคอนเซปต์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมการลดขยะ การรีไซเคิล เข้าไปในทุกเรื่องที่เรียน อย่างห้องอนุบาล 2 ห้องหนึ่ง ใน วิชาคุกกิ้ง จะทำ "ผลไม้ลอยแก้ว" 

ฟังอย่างนี้แล้วนึกออกมั้ยคะว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่บอกอย่างไร...ผลไม้เราต้องปอกเปลือกก่อนนำมาใช้นี่คะ มันก็ต้องเหลือเปลือกเป็นขยะ ครูก็ถามเด็กๆ ว่าจะทำอย่างไรกับเปลือกมันดี ตอบกันเซ็งแซ่ค่ะว่าเอาไปทำปุ๋ย ครูก็เลยให้นักเรียนนำเปลือกแตงโม สับปะรด ส้ม ฯลฯ ไปทิ้งในหลุมที่โรงเรียนขุดไว้ให้ เสร็จแล้วก็ใช้สังกะสีคลุมไว้ เห็นมั้ยคะเด็กๆ ก็สามารถลดปริมาณขยะได้ แถมได้ปุ๋ยมาใส่ต้นไม่ในภายหลังได้อีก 

อนุบาล 2 อีกห้อง ครูหยิบขยะที่เด็กเอามาจากบ้านให้ดู เล่าให้ฟังว่าขยะมาจากไหน ในที่สุดก็สรุปออกมาว่า "มาจากตัวเรานี่แหละ" เพราะฉะนั้นครั้งต่อไปก่อนที่จะซื้อหรือทำอะไรอะไรต้องคิดให้มากว่าเรากำลังเพิ่มขยะอยู่หรือเปล่า จากนั้นครูก็ย้ำความเข้าใจของเด็กๆ ในเรื่องที่บอกไปอีกครั้งด้วยการให้เขาวาดภาพออกมา แล้วบอกความคิดในภาพนั้นให้ครูรู้ หลังจากนั้นก็ชวนกันประดิษฐ์ของเล่นจากขยะเหล่านั้น 

คุณหนูๆ โชว์ฝีมือกันสุดฤทธิ์ ได้ของเล่นหน้าตาแปลกๆ มากมายเชียวล่ะ อย่างหนุ่มต้นก็ได้หุ่นยนต์ที่เจ้าตัวแสนภูมิใจ พอกับหนุ่มกานต์ที่ร่อนเครื่องบินแสนสนุกของตัวเอง ซึ่งเล่นเอาเพื่อนๆ พี่ๆ ห้องข้างๆ ออกมาดู พร้อมถามไถ่กันใหญ่ว่าครูให้ทำเหรอ (คงหมายมั่นปั้นมือว่าถึงคราวฉันบ้างเหอะน่า จะทำให้สนุกเหมือนกัน) 

อีกห้องก็ความคิดเด็ด เอากระดาษหนังสือพิมพ์มาทำกระดาษโปสเตอร์ ครูห่วง (ตามประสาผู้ใหญ่)ว่าจะออกมาไม่สวย แต่เด็กก็ช่วยกันตกแต่ง ใช้สีแต่งขอบ ผลงานที่ออกมาดูจริงใจและเท่ไปอีกแบบค่ะ 

ส่วนพี่อนุบาล 3 ไม่ยอมน้อยหน้า พร้อมใจกันทำโคลนจากกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อปั้นสิ่งต่างๆ ตามต้องการ ในการทำงานศิลปะที่ว่าด้วยเรื่องปั้น 

วิธีทำก็คือเอากระดาษหนังสือพิมพ์มาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วขยำในน้ำ ให้เปื่อยยุ่ย จากนั้นก็เอามาปั้น แต่เด็กๆ บอกว่าหนังสือพิมพ์ผสมกับน้ำปั้นเป็นตัวได้ยาก ครูเนตร (ครูประจำชั้น) ก็ถามว่าแล้วจะทำอย่างไรให้ปั้นได้ง่ายขึ้น ใส่สบู่ลงไปดีมั้ย 

พอลองทำดู เด็กก็บอกอีกว่า "มันลื่นเกินไปครับ (ค่ะ)" เด็กๆ 2-3 คนบอกว่าลองใส่กาวลงไปดูดีมั้ยครับ คุณครูก็บอกว่าเรามาลองดูกัน กระบวนการทดลองทำดูตามที่หนูคิดก็เกิดขึ้น ซึ่งก็ได้ผลจริงๆ มันปั้นได้ เด็กๆ จึงได้ปั้นสนุกตามจินตนาการกันใหญ่ 

ไปดูสิห้องนี้ทำอะไร..อ๋อ..ทำการ์ดจากการรีไซเคิลกระดาษนั่นเอง วิธีก็คล้ายๆ ทำโคลนนั่นแหละ ขยำกระดาษในน้ำให้เปื่อยยุ่ย โดยไม่ต้องใช้เครื่องปั่นเหมือนที่เราคุ้นเคย จากนั้นก็เอาไปกระดาษที่ยุ่ยนั้นไปตากบนมุ้งลวด รีดน้ำออกให้มากที่สุด เอาไปตากแดด พอแห้งก็ตัดออกมาและตกแต่งเป็นการ์ดสวย เด็กๆ บอกว่าจะเอาไปให้คุณพ่อคุณแม่ (อย่างนี้พ่อแม่ก็แก้มปริสิเนอะ) 

ส่วนเรื่องอากาศ วันนี้ห้องครูแอ๊ด ชวนกันไปดูผ้าขาวบางที่ขึงไว้หน้าโรงเรียนวันแล้ว ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ก็พบว่าผ้าเปลี่ยนสี เพราะมีฝุ่นจับอยู่ ครูก็ให้เด็กๆ หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เด็กๆ ก็บอกว่า เพราะควันรถ ฝุ่น ส่วนผ้าขาวอีกผืนที่ขึงไว้ในโรงเรียนนั้น จะสกปรกน้อยกว่า ครูก็ให้เด็กๆ ช่วยกันสรุปว่าเกิดจากอะไร ก็พบว่าในโรงเรียนมีต้นไม้เยอะกว่า ฝุ่นอาจเข้ามาได้ไม่มาก ครูก็บอกว่าการปลูกต้นไม้มากๆจะช่วยรักษาสภาพแวดล้อมได้ เพราะช่วยกรองฝุ่นหรืออากาศเสียได้ 

พอครูถามว่าจะทำอย่างไรให้ควันพิษน้อยลง เด็กๆ ก็บอกว่าจะทำป้ายช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมไปติดหน้าโรงเรียน จะบอกพ่อแม่ให้ขับรถเบาๆ (ไม่เร่งเครื่องมาก ควันก็ออกมาน้อยไงคะ) 

สำหรับเรื่องน้ำนั้น ก็จะพยายามปลูกฝังเด็กทุกห้องอยู่เสมอให้ใช้น้ำอย่างประหยัด ช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำ ไม่ทิ้งขยะลงไป (เชื่อมโยงกับเรื่องขยะ) ให้เด็กๆ ไปคุยกับพ่อแม่ถึงเรื่องนี้ด้วย เท่าที่ผ่านมาก็ดูพ่อแม่จะเข้าใจและให้ความร่วมมือดีทีเดียว 

ก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่คุณครูปลูกฝังวันนี้ เด็กๆ จะได้เรียนรู้และจะค่อยๆ ขยายผลในใจพวกเขา จนเป็นพลังที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาต่อไป




ความสำเร็จของชาวทอรัก

หลักฐานความสำเร็จของการไม่เร่งเด็ก article



dot
dot
bulletปฏิบัติธรรม
bulletรับสมัครผู้ใหญ่ใจดี
dot
เสียงสะท้อนผู้ปกครองทอรัก
dot
bulletคุณแม่น้องเกมส์
bulletคุณแม่น้องเพิร์ท
bulletคุณแม่น้องจอร์นและน้องเจอรี่
bulletคุณแม่น้องดัยโน่
bulletคุณแม่น้องพลอยและน้องฝน
bulletคุณแม่น้องปัน ลูกรัก 6
bulletคุณแม่น้องเก็ต
bulletคุณแม่น้องเหนือ
bulletคุณพ่อน้องฝ้าย
dot
ข่าวประชาสัมพันธ์
dot
bulletผลการเรียนต่อ ม.1 ทุกรุ่น
bullet"บอกบุญ"
bulletบทสัมภาษณ์นิตยสารดิฉัน***
bulletช่อง 9 เข้าถ่ายทำรายการ
bulletทอรักใน นสพ.บางกอกโพส
bulletบทสัมภาษณ์ นิตยสารรักลูก
dot
**********
dot
bulletDay Camp T2/50 ตอน "พลังงานทดแทน"
bulletDay Camp ตอน "ของดีเมืองปากน้ำ"
bulletบรรยายพิเศษ "เลี้ยงดูแบบไหนได้ใช้ศักยภาพสมองสูงสุด"
bulletหลักฐานความสำเร็จของการไม่เร่งเด็ก
dot
**********
dot
bulletปฏิบัติธรรมรุ่น2 28/1/50
bulletตักบาตรทุกวันศุกร์เว้นศุกร์
bulletปฏิบัติธรรมรุ่นที่1 19/11/49
bulletแผนที่โรงเรียนทอรัก
dot
แหล่งเรียนรู้ของชุมชน
dot
bulletนิสิต มศว. เข้าเยี่ยมชม
bulletคณาจารย์ มศว. เข้าเยี่ยมชม
bulletนิสิตป.โท จุฬาเข้าทำวิจัย
bulletนิสิตจุฬา ป.เอก เข้าเยี่ยมชมและสังเกตการปฏิบัติงานของครูทอรัก
bulletนิสิตจุฬา ป.เอก เข้าเยี่ยมชม
bulletนิสิตจุฬา ป.โท สังเกตพฤติกรรมเด็กทอรัก
bulletโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ เข้าเยี่ยมชมงานบริการ
bulletนิสิตจุฬา ป.โท ทำวิทยานิพนธ์
bulletสนามวิจัย ป.เอก จุฬาฯ ปฐมวัยฯ
dot
ภาพถ่ายกิจกรรมของโรงเรียน
dot
bulletคลิกชมภาพกิจกรรม
dot
การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
dot
bulletโครงการเกษตรพอเพียง
bulletกองทุนเพื่อการเรียนรู้
bulletโครงการธนาคารขยะ
bulletโครงการค่ายยุวพุทธ
bulletProject Approach
bulletThe Rock of Taurak
bulletกิจกรรมเลือกตั้งประธาน นร.


visalo.org รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล
วัดสนามใน


Copyright © 2010 All Rights Reserved.
โรงเรียนทอรัก
มุ่งมั่นในการพัฒนาเด็ก

โทร. 086-677-1200, 089-679-2500

Email : taurakschool@hotmail.com