Sponsored Links
เป็นความขัดแย้งที่น่าสนใจครับ
เลยนำมาให้อ่านกันครับ
ครูเชฐ
(คัดจาก http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9490000108154
24 สิงหาคม 2549)
เอเชียแปซิฟิกถกข้อมูล เด็กอัจฉริยะ
นักวิชาการสรุปเด็กในซีกโลกตะวันออกได้รับการเลี้ยงดูที่ค่อนข้างเข้มงวดมาก
มุ่งแต่เรียนและต้องเรียนให้ชนะ ต้องเก่ง ไม่ได้มุ่งคุณธรรม จริยธรรม
ชี้ชัดส่งผลต่อความอิสระในการคิดสร้างสรรค์ ด้าน ดร.อุษณีย์"
เผยสูตรลับในการทำให้ลูกเป็นอัจฉริยะ
ก็คือพ่อแม่ต้องไม่คาดหวังว่าลูกจะเป็นอัจฉริยะ
คนที่คาดหวังอยากให้ลูกเป็นอัจฉริยะจะไม่มีทางเป็นอัจฉริยะได้
ผศ.ดร.อุษณีย์
อนุรุทธ์วงศ์
รองประธานโครงการจัดตั้งสถาบันและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและเด็กที่มีความต้องการพิเศษแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) เปิดเผยว่า
ในปีนี้กลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกได้จัดประชุมนานาชาติเกี่ยวกับเด็กอัจฉริยะขึ้นที่ประเทศไต้หวัน
โดยมีนักวิชาการที่ทำงานกับเด็กอัจฉริยะจากประเทศต่างๆ
เข้าร่วมประชุมมากมาย
ทั้งนี้
ในที่ประชุมได้พูดกันถึงเรื่องหลักสูตรที่สร้างขึ้นเพื่อเด็กกลุ่มนี้ว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคทันสมัย
มีการพูดถึงเรื่องความหลากหลายของสติปัญญามนุษย์จะนำไปสู่การจัดกระบวนการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้อย่างไร
เพราะถ้าสามารถจัดการกับความหลากหลายทางสติปัญญาของมนุษย์ได้
ก็จะมีคนเก่งจากประเทศต่างๆ อีกมากมาย แต่ถ้าหากไม่สนใจเด็กกลุ่มอัจฉริยะ
จะทำให้เด็กกลุ่มนี้เสียโอกาส และไม่สามารถพัฒนาให้ไปสู่เป้าหมายได้
ซึ่งเด็กบางคนอาจจะเป็นอัจฉริยะบุคคลได้ หากสนับสนุนให้ถูกทิศถูกทาง
และต้องมีความเข้าใจเด็กกลุ่มนี้ด้วย
พ่อแม่ยุคใหม่ที่มีการศึกษาต่างพยายามอยากให้ลูกเก่ง ขวนขวาย พยายาม
หากแต่ขอบอกว่ามันมีสูตรลับในการทำให้ลูกเป็นอัจฉริยะ
ก็คือพ่อแม่ต้องไม่คาดหวังว่าลูกจะเป็นอัจฉริยะ
คนที่คาดหวังอยากให้ลูกเป็นอัจฉริยะจะไม่มีทางเป็นอัจฉริยะได้ คนที่ผลักดัน
เคี่ยวเข็ญอย่างหนักหน่วง ต้องทำอย่างนั้นต้องทำอย่างนี้จะไม่มีทางเป็นอัจฉริยะได้
แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องบ่มเพาะในเด็กกลุ่มนี้ก็คือ ความอดทน เพราะความอดทน อึด
จะทำให้เด็กไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
นักวิชาการเกือบทุกประเทศในซีกโลกตะวันออกพูดตรงกันก็คือ
เด็กในซีกโลกตะวันออกได้รับการเลี้ยงดูที่ค่อนข้างเข้มงวดมาก เด็กเรียนหนังสือมาก
ส่วนใหญ่มุ่งแต่การเรียนและต้องเรียนให้ชนะ ต้องเก่ง
ประกอบกับการคัดเลือกเข้าสู่สถาบันอุดุมศึกษา มุ่งแต่วิชาการเพียงอย่างเดียว
ไม่ได้มุ่งคุณธรรม จริยธรรม ไม่ได้มุ่งการเรียนรู้ทางสังคมหรือเรื่องอื่นๆ
จะเห็นว่าการศึกษาในกรอบเดิมยังไม่เปลี่ยน ซึ่งจะส่งผลถึงเด็ก
บางคนสงสัยว่าทำไมเด็กควรจะเก่งแต่กลับไม่เก่ง
เพราะเราไม่ให้เวลาแก่เด็กอย่างมีอิสระ ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกมีปัญหามาก
ประเทศเกาหลีพยายามแก้ไขเรื่องนี้ แต่ก็ทำได้ไม่มากนัก
ส่วนใหญ่เขาจะให้ความสำคัญกับวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
สำหรับเด็กในโลกซีกตะวันตกนั้นแม้จะดูมีความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์
คิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เนื่องจากเขามีอิสระมาก
แต่น่าห่วงตรงที่วิชาการเขามีไม่เพียงพอดร.อุษณีย์กล่าวสรุป