Sponsored Links
วันนี้ขอคุยถึงเรื่อง "พอเพียง" ในมุมมองของผมเองครับ
จริงๆ
แล้วผมคิดว่าความพอเพียงมีสอดแทรกอยู่ในหลักเศรษฐศาสตร์ครับ ซึ่งโดยจุดใหญ่ๆ
ที่สามารถนำมาอธิบายเรื่อง "พอเพียง" นั้น มีอยู่ 2 ทฤษฎีครับ
ลองพิจารณากันดู
1. ทฤษฎี Diminishing Marginal Utility
บอกว่าคนเราจะมีความพึงพอใจในข้าวจานแรกมากที่สุด
ซึ่งตามทฤษฎีบอกว่าเวลาเราหิว และเมื่อเรารับประทานอาหารจานแรก
เราจะได้ความพึงพอใจมากที่สุด
หากยังไม่อิ่มและต้องการรับประทานเพิ่มเป็นจานที่ 2
ความพึงพอใจที่ได้จากการรับประทานจะลดลงครับ
ดังนั้นแล้วเราก็จะแสวงหาประเภทของอาหารชนิดอื่นต่อไปเรื่อยๆ
เนื่องจากความพึงพอใจของการทานของชนิดเดิมครั้งที่ 2 ลดลง
ปัญหาก็จะอยู่ตรงที่
ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะพอเพียงกับสิ่งที่มีอยู่
เราคงจะต้องวิ่งตามหาอาหารชนิดอื่นต่อไปตลอดทั้งชีวิตครับ
2. ทฤษฎี Sustainable Growth
ทฤษฎีนี้บอกว่าหากทำธุรกิจและต้องการที่จะขยาย
ให้ใช้เงินที่ได้จากกำไรเท่านั้น นำมาขยายกิจการหรือยอดขาย
เพราะหากว่าต้องการขยายธุรกิจในขณะที่มีเงินกำไรไม่มากพอ
แปลว่าเราต้องกู้เงินจากคนอื่นมา "Sustain" หรือมา "Support"
ยอดขายของเราครับ ปัญหาอยู่ตรงนี้ครับว่า
หากเราต้องไปกู้เงินคนอื่นมาเพื่อขยายกิจการ
และหากกิจการดังกล่าวไม่เป็นไปดังที่คิด เราก็จะเกิดภาระหนี้สินขึ้น
ดังนั้น Sustainable Growth บอกเราว่าธุรกิจของคุณยังเติบโตได้
หากแต่ว่าจะโตได้อย่างยั่งยืน ก็ต้องค่อยๆ โตครับ
คนส่วนใหญ่ชอบคิดว่า ความ "พอเพียง"
ต้องหมายถึงการที่คนเราต้องออกไปทำไร่ไถนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์
โดยอยู่อย่างพอกินและพอใช้ ในขณะที่บางคนมองว่า
จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศถดถอยครับ แต่ในความคิดของผมแล้ว
ความพอเพียงในที่นี้ลึกซึ้งมากกว่านั้นมากครับ
เพราะได้นำหลักธรรมะและหลักเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้อง
มาสอนให้เราดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนในสังคมทุกรูปแบบ
สำหรับการเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืนครับ